วิธีการทางประวัติศาสตร์
และหลักฐานทางประวัติศาสตร์
การตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์
การตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คือ การทำความเข้าใจว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้ข้อมูลอะไร และข้อมูลนั้นมีความหมายว่าอย่างไร
การตีความหลักฐาน แบ่งเป็น 2 ลักษณะ
1. การตีความขั้นต้น
การตีความขั้นต้น เพื่อให้ได้ความหมายตามตัวอักษรหรือตามรูปแบบภายนอก ผู้ตีความควรมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องนี้
1. การใช้ถ้อยคำและสำนวนโวหาร ถ้อยคำและสำนวนโวหารเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เป็นหน้าที่ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ที่ต้องพยายามทำความเข้าใจให้ได้อย่างถูกต้อง
2. อิทธิพลของทัศนคติ ค่านิยม และสภาพแวดล้อมในช่วงเวลาที่บันทึกหลักฐาน เช่น หลักฐานประเภทตำนาน
3. จุดมุ่งหมายของหลักฐาน การรู้จุดมุ่งหมายของหลักฐานมีประโยชน์ในการตีความด้วย เช่น พระราชพงศาวดาร มักยกย่องสรรเสริญพระมหากษัตริย์มากเป็นพิเศษ
2. การตีความขั้นลึก
การตีความขั้นลึก ค้นหาทัศนคติของผู้เขียน ที่ไม่เปิดเผยอย่างตรงไปตรงมาอาจมี ข้อเท็จจริงบางอย่างแฝงอยู่ การตีความต้องตีความไปตามข้อเท็จจริง ห้ามตีความ ไปตามแนวคิดที่ตนเองเดาไว้ล้วงหน้า
ลักษณะของข้อมูลที่ได้จากการตีความหลักฐาน
1. ความจริง คือ สิ่งที่มั่นคงไม่เปลี่ยนแปลง และเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป ไม่มีข้อโต้แย้ง เพราะมีหลักฐานยืนยันแน่นอนจนปราศจากข้อสงสัย
2. ข้อเท็จจริง คือ ความคิด ความเชื่อ หรือข้อมูลที่ต้องการหลักฐานมายืนยันเพื่อพิสูจน์หาความจริง ข้อเท็จจริงจึงต่างกับความจริง เพราะสิ่งที่เป็นความจริงไม่มีหลักฐานอื่นใดที่จะทำให้ความจริงนั้นเปลี่ยนแปลงไป แต่ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีหลักฐานที่ดีกว่าหลักฐานเดิมมาสนับสนุน
3. ความคิดเห็น เป็นสิ่งที่เกิดจากประสบการณ์ ทัศนคติ ค่านิยม อารมณ์ความรู้สึกของบุคคล แล้วแสดงออกมาให้ปรากฏเป็นคำพูดหรือข้อเขียน ซึ่งอาจมีหรือไม่มีหลักฐานประกอบก็ได้