วิธีการทางประวัติศาสตร์
และหลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา
1. พระราชพงศาวดาร เป็นบันทึกเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ในด้านต่างๆ อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. พระราชพงศาวดารที่ยังไม่ผ่านกระบวนการชำระให้ข้อมูลตามที่
ผู้บันทึกเดิมเขียนไว้ เช่น พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐฯ
พระราชพงศาวดารความเก่า จ.ศ. 113
2. พระราชพงศาวดารที่ผ่านการกระบวนการชำระ คือ มีการตรวจสอบ
แก้ไขในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ ทำให้เนื้อความและจุดประสงค์แตกต่างไป
จากเดิม เช่น พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)
พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับพระจักรพรรดิพงศ์เจ้ากรม (จาด)
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับสมเด็จพระพนรัตน์
พระราชพงศาวดารกรุงสยามจากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม กรุงลอนดอน
พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา
2. จดหมายเหตุโหร เป็นงานของโหรประจำราชสำนัก บันทึกพระราชกรณียกิจและเหตุการณ์สำคัญในบ้านเมืองตามลำดับวันที่เกิดเหตุการณ์ โดยสรุปสั้นๆ
3. จดหมายเหตุชาวต่างชาติ ส่วนใหญ่เป็นเอกสารที่ชาวยุโรปที่เดินทางเข้ามาในอาณาจักรอยุธยาเขียนขึ้น เช่น จดหมายเหตุฟานฟลีต ของเยเรเมียส ฟาน ฟลีต ชาวฮอลันดา
4. วรรณกรรม สมัยอยุธยามีวรรณกรรมหลายเรื่องที่ให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เช่น ลิลิตโองการแช่น้ำ ลิลิตยวนพ่าย
5. หลักฐานทางโบราณคดีและศิลปกรรม เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่สร้างในสมัยอยุธยา ซึ่งมีจำนวนมาก